วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560

วิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (หลักสูตร)

หลักสูตร วิศวกรรมเคมี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

          ภาควิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เปิดสอนในระดับปริญญาตรีตั้งแต่ปี พ.ศ.2517 ปริญญาโทในปี พ.ศ.2525 และปริญญาเอกในปี พ.ศ.2534 โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ การผลิตวิศวกรและนักวิจัยของประเทศที่มีคุณภาพสูง มีความสามารถทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวมไปถึงเป็นผู้ที่มีคุณธรรมและจริยธรรม โดยมีคณาจารย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเป็นผู้สอน ซึ่งปัจจุบันภาควิชาฯ มีคณาจารย์ที่สำเร็จการศึกษาระดับสูงและมีความถนัดในสาขาวิชาที่หลากหลาย ทำให้ภาควิชาฯ มีความพร้อมด้านบุคลากรมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย นอกจากนี้คณาจารย์ของภาควิชาฯ ยังมีผลงานวิจัยเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ




                    จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร                                                         149  หน่วยกิต
            โครงสร้างหลักสูตร
                    ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                                                                       31   หน่วยกิต
                    ข. หมวดวิชาเฉพาะ                                                                              112  หน่วยกิต
                         วิชาพื้นฐานวิศวกรรม                                                                         51   หน่วยกิต
                         - วิชาชีพ                                                                                        55   หน่วยกิต
                         - วิชาเลือก                                                                                      6    หน่วยกิต
                    ค. หมวดวิชาเลือกเสรี                                                                             6    หน่วยกิต

          วิศวกรรมเคมีเป็นสาขาที่ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี รวมไปถึงการควบคุมการผลิตและออกแบบโรงงาน ผู้ที่ศึกษาทางด้านนี้จะนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์เคมีมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ศาสตร์ของวิศวกรรมเคมีสามารถประยุกต์ใช้ได้กับเทคโนโลยีหลากหลาย เช่น เทคโนโลยีทางด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม กระบวนการทางชีวภาพ วัสดุศาสตร์ ปิโตรเคมี ยาและอาหาร เป็นต้น




          ผู้ที่สำเร็จการศึกษาในสาขาวิศวกรรมเคมีสามารถประกอบอาชีพได้ในหลายๆด้าน เช่น วิศวกรควบคุมและวางแผนการผลิต วิศวกรออกแบบเครื่องมือและอุปกรณ์ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ปิโตรเลียม สิ่งทอ ยาและอาหาร เป็นต้น


วิศวกรรมเคมี

วิศวกรรมเคมี

          วิศวกรรมเคมี (chemical engineering) เป็นการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์, ของไหล, การแลกเปลี่ยนความร้อน และเศรษฐศาสตร์ กับกระบวนการเปลี่ยนวัตถุดิบ หรือเคมีภัณฑ์ ให้อยู่ในรูปที่มีประโยชน์
          วิศวกรรมเคมีเป็นวิชาที่ว่าด้วยการออกแบบและควบคุมการทำงานของกระบวนการทางเคมีในระดับมหภาพ วิศวกรเคมีที่ทำงานในด้านการควบคุมกระบวนการมักจะถูกเรียกว่าวิศวกรกระบวนการ (Process Engineer)




          มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนด้านวิศวกรรมเคมีในประเทศไทยมี ดังนี้

                  1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                  2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
                  3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
                  4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
                  5. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
                  6. มหาวิทยาลัยมหิดล
                  7. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
                  8. สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
                  9. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
                 10. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
                 11. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
                 12. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
                 13. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
                 14. มหาวิทยาลัยนเรศวร
                 15. มหาวิทยาลัยศิลปากร
                 16. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
                 17. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
                 18. มหาวิทยาลัยบูรพา
                 19. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
                 20. มหาวิทยาลัยรังสิต

วิศวกรกระบวนการ (PE - Process Engineer)

วิศวกรกระบวนการ

           วิศวกรกระบวนการ (PE - Process Engineer) คือ ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการประเมินกระบวนการที่มีอยู่และการกำหนดค่าระบบการผลิตเพื่อลดต้นทุนในการปรับปรุงการพัฒนาอย่างยั่งยืนและพัฒนาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในกระบวนการผลิต




       บทบาทและหน้าที่ ทีมวิศวกรกระบวนการ มีหน้าที่ดังนี้

                 1. ปฏิบัติงานด้านการวางแผนการปรับปรุงคุณภาพ
                 2. ปฏิบัติงานด้านการสำรวจกระบวนการและโครงการ
                 3. ปฏิบัติงานด้านการวิเคราะห์กระบวนการ
                 4. ปฏิบัติงานด้านการจัดทำกระบวนการที่เป็นมาตรฐานขององค์กร
                 5. ปฏิบัติงานด้านการจัดทำเอกสาร/เครื่องมือสนับสนุนกระบวนการ
                 6. ปฏิบัติงานด้านการประสานการทำงาน
                 7. ปฏิบัติงานด้านการติดตาม, ตรวจสอบ, ประเมินผล, และรายงานผลต่อ MC-CMMI
                 8. ปฏิบัติงานด้านการถ่ายทอดและให้คำปรึกษากระบวนการ/เครื่องมือ




          การจะมาเป็นวิศวกรกระบวนการนั้นจะต้องจบการศึกษาขั้นปริญญาตรีในด้านวิศวกรรมเคมี